การทำงาน ของ อดุลย์ วันไชยธนวงศ์

นายอดุลย์ ประกอบอาชีพรับราชการ ในตำแหน่งวิศวกรกร

นายอดุลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[1][2]

ในการทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา นายอดุลย์เกิดกรณีขัดแย้งกันระหว่างสมาชิก เนื่องจากกรณีการชกหน้าสมาชิกรัฐสภา ในที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ระหว่างประชุมวุฒิสภา พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ได้ชกต่อยเข้าที่ใบหน้าของนายอดุลย์ เนื่องจากนายอดุลย์ลุกจากที่นั่งเดินเข้ามาในระยะประชิด เพราะมีความเห็นขัดแย้งกัน กรณีการเผยแพร่เอกสารสมุดปกเหลือง เรื่อง "ความจริงที่ตากใบ" อันเป็นรายงานเกี่ยวกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ของทีมงานที่นำวุฒิสภากลุ่มหนึ่ง นำโดย เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง การชกหน้าทำร้ายร่างกาย ของสมาชิกวุฒิสภาด้วยกัน ในระหว่างที่มีการประชุมกัน ซึ่งได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสียอย่างยิ่งของวงการการเมืองไทย[3]

ต่อมานายอดุลย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน คู่กับปัญญา จีนาคำ แต่นายอดุลย์ได้รับเลือกตั้งเพียงคนเดียว

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายอดุลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา[4][5] แข่งขันกับอดีต ส.ส. รวมกันถึง 4 คน คือ สมบัติ ยะสินธุ์ (ประชาธิปัตย์) ปัญญา จีนาคำ (เพื่อไทย) สมบูรณ์ ไพรวัลย์ (ภูมิใจไทย) และนายอดุลย์ แต่ผลการเลือกตั้งปรากฎว่านายสมบัติ ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.แม่ฮ่องสอน